คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในเขตพื้นที่บางพระ จังหวัดชลบุรี ที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก” คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จัดอยู่ในกลุ่ม ค สถาบันเฉพาะทาง ลักษณะที่ 2(ค2) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีพันธกิจหลัก 4 ด้านตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีพันธกิจด้านการบริหารจัดการ
ข้อมูลและสถิติ
98%
การได้งานทำของบัณฑิต
4.70
ผลการตรวจประเมิน IQA
52%
อาจารย์ปริญญาเอก
4.50
ผลตรวจสอบและประเมินผลงาน
ข้อมูล ปีการศึกษา 2566
วิสัยทัศน์
“คณะชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน”
วัฒนธรรมองค์กร
“ร่วมคิด ร่วมทำ แบ่งปัน สร้างสรรค์ผลงาน”
พันธกิจ
- จัดการศึกษาให้เป็นตลาดวิชาแหล่งเรียนรู้ของคนในทุกช่วงวัย เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ
- ผลิตและพัฒนางานวิจัยตอบโจทย์การนำไปใช้ประโยชน์สำหรับสถานประกอบการ ชุมชน สังคม และผลักดันสู่ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบาย EEC และประเทศไทย
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน สังคม ผู้ประกอบการ และหารายได้จากการบริการวิชาการเพิ่มขึ้น
- ทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- บริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ
อัพเดจเมื่อ 10 ต.ค.2567
ประวัติความเป็นมาของคณะ
จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา สู่ มหาวิทยาลัยฯ
พ.ศ. 2518 : ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นวันที่พระราชบัญญัติ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” ได้ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพ และศักยภาพ มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน
พ.ศ. 2531 : เปลี่ยนแปลง สู่ “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
ในวันที่ 15 กันยายน 2531 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
พ.ศ. 2548 : เติบโตสู่ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 ได้การรวมกลุ่มวิทยาเขตจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง
สาขาวิชา หน่วยงาน และหลักสูตร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ - สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร - สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (ปริญญาโท)
- สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความงาม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม - สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
หน่วยงานสนับสนุน
คณะผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงาน
ผศ.สินทรัพย์ นับเพชรพลอย
รองคณบดีฝ่ายบริหารและแผน
อ.ดร.สุธีรา อานามวงษ์
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาฯ
ผศ.ดร.กรณัฏฐ์ นาคภิบาล
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
นันทนา เยื้องไกรงาม
รักษาราชการแทน หัวหน้าสำนักงานคณบดี
ผู้ช่วยคณบดี
อ.ดร.วีรยา ภูผิวคำ
ผู้ช่วยคณบดีด้านวิชาการ/หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ผศ.เพียงขวัญ เครือภู่
ผู้ช่วยคณบดีด้านวิจัย
อ.ดร.ปิยธิดา ต.ไชยสุวรรณ
ผู้ช่วยคณบดีด้านประชาสัมพันธ์
อ.ดร.พิรดา สุดประเสริฐ
ผู้ช่วยคณบดีด้านยุทธศาสตร์ฯ
อ.ภานุมาศ บุญผดุง
ผู้ช่วยคณบดีด้านบริการวิชาการ
อ.ยศภัทร เรืองไพศาล
ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจกรรมนักศึกษา
ผศ.สุกัลยา ชาญสมร
ผู้ช่วยคณบดีด้านประกันคุณภาพ
หัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าศูนย์
ผศ.ณัฐธยาน์ รุจิราธนาพัฒน์
หัวหน้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ผศ.สุพัตรา พูลพืชชนม์
หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ผศ.ดร.อรพรรณ ใจสมุทร
หัวหน้าสาขานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความงาม
ผศ.อมรรัตน์ โมราราช
หัวหน้าศูนย์ทดสอบผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์
อ.ดร.วีรยา ภูผิวคำ
ผู้ช่วยคณบดีด้านวิชาการ/หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
ผศ.ดร.รัชดา ไชยเจริญ
หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผศ.อรรถนิติ วงศ์จักร์
หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ติดต่อเรา
สอบถามข้อมูลการศึกษาต่อ ให้คำปรึกษา ขอรับบริการวิชาการ สอบถามข้อมูลอื่นๆ