หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
Bachelor of Science Biotechnology
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกิดจากการบูรณาการความรู้จากวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนทางชีวภาพ การศึกษาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวข้องกับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีของเอนไซม์ เทคโนโลยีของจุลินทรีย์ กระบวนการหมัก สิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสีย ตลอดจนการย่อยสลายโดยวิธีทางชีวภาพ ซึ่งสามารถนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ ได้แก่ ทางด้านการเกษตร ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้านการผลิตพลังงานเชื้อเพลิง และพลังงานทดแทน จนปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทมากในชีวิตประจำวันจนพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของผู้คนในสังคม
การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้เล็งเห็นและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการพัฒนาประเทศ จึงมีการวางแผนและนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ โดยผลักดันให้หลักสูตรด้านเทคโนโลยีชีวภาพถูกจัดเข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ตั้งแต่ ปี 2530 – 2534 และให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่การบริหารของประเทศไทยตามนโยบาย Thailand 4.0 มีการกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ผันแปรไป มีความระมัดระวังมากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสภาพแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานชีวภาพ หนึ่งในนโยบายของรัฐบาล คือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม โดยนำความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสร้างนวัตกรรมและก่อมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรม
จากนโยบายของชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะเห็นว่าการจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดังกล่าว และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาศัยศักยภาพจากฐานด้านเกษตรและความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่มาใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไปได้อีกอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง การรักษาสิ่งแวดล้อมและสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจในเวทีโลกได้ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตบางพระ มีความพร้อมในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมานานกว่า 20 ปี และยังพร้อมพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้อีกต่อไปในอนาคต
ข้อมูลทั่วไป
Gerneral informaion
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Biotechnology
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) หรือ วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Biotechnology) หรือ B.S. (Biotechnology)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
1.รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า
2.รับผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตวิชาชีพในสาขาวิชาที่เทียบเคียงกับระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์)
3.รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยการโอนหน่วยกิตจากหลักสูตร 4 ปี ที้งนี้ ผู้เรียนต้องลงทะเบียนในรายวิชา ตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
Career prospects
1. พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง เอทานอล อุตสาหกรรมเกษตรต่าง ๆ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพและฝ่ายบำบัดน้ำเสีย
2. นักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหน่วยงานราชการและเอกชน
3. พนักงานบริษัทที่ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์และเครื่องดื่มวิทยาศาสตร์และสารเทคมี เทคโนโลยีชีวภาพ
4. ประกอบอาชีพอิสระโดยใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
Download เล่มหลักสูตร
คำนิยม
Testimonials
ความรู้พื้นฐานทางด้านจุลชีววิทยาที่ได้เรียนในหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ สำคัญมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน โดยเฉพาะศัพท์เทคนิคที่ได้จากการเรียนทำให้ต่อยอดในการทำงาน สามารถอ่านวิธีทดสอบมาตรฐานที่เป็นภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ หาสาเหตุและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เอง และการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรทำให้มีโอกาสในการรับเข้าทำงานได้ง่ายขึ้น
อาจารย์หลักสูตร วท.บ.เทคโนโลยีชีวภาพ
Lecturer

หัวหน้าสาขาวิชา/อาจารย์
+
อ.จินตนา เพชรมณีโชติ
หัวหน้าสาขาวิชา/อาจารย์
วท.ม.วิทยาศาสตร์ชีวภาพ(จุลชีววิทยา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์
+
อ.ดร.สุธีรา อานามวงษ์
อาจารย์
- ปร.ด.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์
+
อ.มนตรี เรืองสิงห์
อาจารย์
- วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์
+
อ.ภานุมาศ บุญผดุง
อาจารย์
วท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์