หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
Bachelor of Science in Food Science and Technology
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารส่งออกหรือเปรียบเสมือนครัวของโลก (Kitchen of the world) รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนให้มีการแปรรูปผลผลิตเกษตร ดังนั้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จึงได้จัดการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิตโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ผลิตบัณฑิตเพื่อป้อนเข้าสู่ธุรกิจด้านอาหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในปัจจุบันรัฐบาลมุ่งเน้นที่จะสร้างมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารระดับชุมชนและระดับอุตสาหกรรม โดยให้บุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ทางเคมี จุลชีววิทยาและกายภาพได้ จึงมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ) ให้มีความสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว (High accuracy, precision and rapidity) ตามข้อกำหนดระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
ข้อมูลทั่วไป
Gerneral informaion
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science in Food Science and Technology
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) หรือ วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Food Science and Technology) หรือ B.S. (Food Science and Technology)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
1.สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า หรือ
2.สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร อาหารโภชนาการ และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือเทียบเท่า
3.สำเร้จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาอุตสาหกรรมเกษตร อาหารโภชนาการ หรือเทียบเท่า
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
Career prospects
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีศักยภาพในการแข่งขันในการตลาดแรงงานอาเซียน ตัวอยางการประกอบอาชีพ เช่น
1.นักวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน
2.นักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
3.เจ้าหน้าที่โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ด้านการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
4.ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านอุตสาหกรรมอาหาร
อาจารย์หลักสูตร วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
Lecturer

ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร/หัวหน้าสาขา
+
ผศ.สุพัตรา พูลพืชชนม์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร/หัวหน้าสาขา
วท.ม.(วิทยาศาตร์การอาหาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วท.บ.(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.ดร.ตวงสิริ สยมภาค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
Ph.D. (Food and Sensory Sciences) Deakin University
วท.ม. (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.สายใจ จริยาเอกภาส
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
วท.ม.เทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์
+
อ.ดร.วิริยา นิตย์ธีรานนท์
อาจารย์
-
วท.ม.(อณุพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล
-
Ph.D .(FoodScience) University of Wisconsin–Madison

อาจารย์
+
อ.ดร.กรันต์ ถ้ำแก้ว
อาจารย์
Ph.D. in Engineering (Food Engineering) Lund University,Sweden
วท.ม (เทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์
+
อ.อนันทญา แสนสวัสดิ์
อาจารย์
วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วท.บ.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้