หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
Bachelor of Science Program in Culinary Technology and Service
ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลกและการค้าเสรี มีผลทำให้ตลาดแรงงานทางด้านธุรกิจอาหารและการบริการเปิดกว้างมากขึ้น จึงมีความต้องการทางด้านกำลังคน ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการประกอบอาหารบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาหารและโภชนาการ ความปลอดภัยของอาหาร การจัดการธุรกิจอาหารและการบริการ ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถทางวิชาชีพ ตรงตามความต้องการของธุรกิจอาหารและการบริการให้สามารถแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติได้
ข้อมูลทั่วไป
Gerneral informaion
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Culinary Technology and Service
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ หรือ วท.บ. (เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Culinary Technology and Service) หรือ B.S. (Culinary Technology and Service)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
1.สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือ เทียบเท่า ที่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
2.สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร อาหารและโภชนาการ ที่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
3.สำเร็จการศึกษาระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญาหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและโภชนาการ หรือ เทียบเท่าเข้าศึกษา ที่่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด และเทียบโอนรายวิชาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
Career prospects
1. ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตและการจัดบริการอาหารในสถานประกอบการอาหารต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม รีสอร์ท ครัวการบิน และโรงพยาบาลฝ่ายโภชนาการ
2. ผู้จัดการฝ่ายอาหารและจัดเลี้ยงในโรงแรม/ภัตตาคาร/ร้านอาหาร
3. ผู้ควบคุมการผลิตและควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
4. พนักงานในหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
5. ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและการบริการอาหาร
6. อาชีพอื่น ๆ เช่น นักออกแบบและตกแต่งอาหาร ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ เครื่องมือในอุตสาหกรรมบริการอาหารและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหารและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
อาจารย์หลักสูตร วท.บ.เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
Lecturer

หัวหน้าสาขา/ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.ปภากร ศรีสอน
หัวหน้าสาขา/ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- วท.ม.(พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ป.บัณฑิต(ประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลโลยีการอาหาร) สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

อาจารย์
+
อ.อมรรัตน์ โมราราช
อาจารย์
- วท.ม. (อุตสาหกรรมการเกษตร) มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลโลยีการอาหาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

อาจารย์
+
อ.ธนวันต์ พัฒนสิงห์
อาจารย์
- คศ.บ.(อาหารและโภชนาการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- คศ.บ.(อุตสาหกรรมการบริการอาหาร) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์
+
อ.เกษมสุข เขียวทอง
อาจารย์
- กศ.บ.(การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา
- คศ.บ.(อาหารและโภชนาการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์
+
อ.ดร.พีรรัตน์ ดวงติ๊บ
อาจารย์
- ปร.ด.(การพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วท.ม.(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วท.บ.(เทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่