หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
Master of Science Program in Agricultural Biotechnology
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เป็นเทคโนโลยีที่นําความก้าวหน้าในการศึกษาจีโนม พันธุศาสตร์ระดับ โมเลกุล ชีวเคมี ชีวโมเลกุลและชีววิทยาระดับเซลล์ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตทางด้าน การเกษตร ตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์ การป้องกันโรค การควบคุมการเจริญ การเก็บเกี่ยวและเทคโนโลยี หลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีชีวภาพที่นํามาใช้ในการเกษตรนี้มีความสําคัญและจําเป็นต่อประเทศ เพราะ ในสภาวะปัจจุบันที่มีปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่สลับไปมาทําให้เกิดวิกฤตการณ์ทั้งช่วงแล้ง ที่ยาวนานและการมีน้ําท่วมขังในช่วงฤดูมรสุม ประกอบกับการลดลงของจํานวนประชากรวัยแรงงาน ทํา ให้การทํางานและรายได้ในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลง จึงมีนโยบายในการพัฒนา โครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศใหม่ (5 Curve) โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการเกษตรโดยการใช้ ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับเศรฐษกิจชีวภาพ เพื่อทําให้ประเทศไทยยังคงเดินหน้าได้ใน ภาวการณ์ที่ผันผวนทั้งสภาวะอากาศและเศรษฐกิจ ดังนั้นการจัดเตรียมกําลังคนรุ่นใหม่และการพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่แล้วทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ให้มีทักษะใหม่ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของประเทศจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จึงนําเสนอหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ที่เน้นการนํา เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการผลิตในการเกษตรได้ ทั้งกระบวนการผลิต โดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อเป็นส่วนสําคัญในการผลักดันการพัฒนาประเทศอย่าง ยั่งยืน
ข้อมูลทั่วไป
Gerneral informaion
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ชื่อภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Agricultural Biotechnology
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร) หรือ วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Master of Science (Agricultural Biotechnology) หรือ M.S. (Agricultural Biotechnology)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
Career prospects
1. รับราชการ พนักงาน ลูกจ้างในหน่วยงานภาครัฐ ในตำแหน่งอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการเกษตร
2. รับจ้างในหน่วยงานภาคเอกชนในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ พนักงานขายผลิตภัณฑ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
3. ประกอบอาชีพอิสระ
อาจารย์ประจำหลักสูตร วท.ม. เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
Lecturer

ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร
+
ผศ.ดร.นิภาพร ก้านทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร
- ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยมหิดล
- วท.ม. (พันธุศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.ดร.นันทพร พึ่งสังวร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์
+
อ.ดร.วัชรินทร์ ยุทธวานิชกุล
อาจารย์
- วท.ด.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- วท.บ.(เทคโนโลยีการผลิตพืช) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี